พูดถึงรถยนต์ด้วยแล้ว การที่จะทำให้รถยนต์ยังใช้งานได้ตลอด นอกจากเครื่องยนต์แล้ว “ลมยาง” ก็เป็นส่วนประกอบด้วยเช่นกัน เพราะจะช่วยเรื่องประหยัดน้ำมันได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งทาง CHATCHAI CAR จะมานำเสนอว่า การเติมลมยางรถยนต์แบบไหน จะช่วยให้เราประหยัดน้ำมันได้ เมื่อคุณได้เป็นเจ้าของรถยนต์ มือสอง ไปแล้ว จากต่างประเทศที่ได้ทำไว้

หลักในการจำความดันลมยาง สำหรับ รถยนต์ มือสอง ขั้นเบสิก

ลมยางรถ สำคัญอย่างไรในการดูแลรถยนต์ มือสอง CHATCHAI CAR PSI

สิ่งนี้ คนขับรถอย่างเราๆ ก็สามารถสังเกตได้ง่ายมาก แล้วแต่ว่าคุณขับรถประเภทไหนเท่านั้น ซึ่งจะใช้หน่วย Pound per Square inch (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) โดยจะแบ่งระดับค่า PSI ดังต่อไปนี้

  • – รถยนต์ขนาดเล็ก ควรเดิมแรงดันลมยางประมาณ 30-32 PSI ( ปอนด์/ตร.นิ้ว )
  • – รถยนต์ขนาดกลางถึงใหญ่ ควรเติมแรงดันลมยาง 30-35 PSI ( ปอนด์/ตร.นิ้ว )
  • – รถกระบะ ควรเติมแรงดันลมยางไม่เกิน 40 PSI ( ปอนด์/ตร.นิ้ว ) ตรงนี้ดูว่า บรรทุกอะไร เป็นที่ตั้ง
  • – ควรเติมลมยาง ให้ครบทั้ง 4 ล้อ จะให้เติมเท่าไหร่ ตรงขอบประตูฝั่งคนขับจะมีบอกให้อยู่แล้ว ซึ่งเป็นข้อมูลจากศูนย์การผลิตโดยตรง
  • – ไม่ควรเติมลมยางตอนมีอุณหภูมิสูง ควรเติมลมยาง ขณะที่ยางเย็น เพื่อกันยางแตกระเบิด

ควรเช็คลมยางรถบ่อยแค่ไหน

ควรเช็คลมยางอย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง เพราะโดยเฉลี่ยแล้วลมยางจะลดปริมาณลงประมาณ 2-3 PSI ในหนึ่งเดือน ถ้ารถของคุณเติมลมยางในปริมาณที่เหมาะสมและได้รับการตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดการเสื่อมสภาพของยาง เพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ และช่วยประหยัดน้ำมันได้อีกด้วย หากเดินทางไกลด้วยแล้ว ควรเติมไปเผื่อประมาณ 3-5 PSI ซึ่งจะช่วยให้ยางรถยนต์ไม่อ่อนมากนัก ยิ่งรถ มือสอง ด้วยแล้ว ต้องดูให้ละเอียดเป็นพิเศษเลยทีเดียว

การจับอาการยางรถว่า อ่อน หรือ แข็ง ได้อย่างไร

ลมยางรถ สำคัญอย่างไรในการดูแลรถยนต์ มือสอง CHATCHAI CAR ยางแข็ง ยางอ่อน

– ลมยางอ่อนเกินไป: คุณจะรู้สึกถึงความนุ่มนวลของช่วงล่าง พูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ขับรถแล้วรู้สึกรถไม่ค่อยเกาะถนนเท่าที่ควร นั่นหมายความว่า เครื่องยนต์จะทำงานหนักกว่าปกติและเปลืองน้ำมันมากขึ้น ยิ่งถ้าคุณขับรถด้วยความเร็วจะมีอาการโยน ไม่นิ่ง หรือเจอกับพื้นถนนไม่เรียบก็จะรู้สึกโยนมากขึ้น หากรถของคุณลมยางอ่อนมาก ๆ อาจเสี่ยงต่อการเกิดยางระเบิด เพราะแก้มยางบิดตัวจนเกิดความร้อนทำให้แรงดันในลมยางขยายตัวนั่นเอง

– ลมยางแข็งเกินไป: สังเกตง่าย ๆ ว่า การออกตัวรถจะทำได้ดีกว่าลมยางอ่อนก็จริง แต่ประสิทธิภาพในการยึดเกาะถนนบนทางโค้งจะลดลง การเบรคกะทันหันอาจเพิ่มระยะทางมากขึ้น อีกทั้งการเติมลมยางแข็งเกินไปอาจทำให้รถเกิดแรงสั่นสะเทือนระหว่างขับขี่ หากขับขี่ด้วยความเร็วแล้วตกหลุมหรือเกิดแรงกระแทกรุนแรงขณะขับขี่อาจทำให้ยางระเบิดได้เช่นกัน